ระเบียบวาระที่  ๓   เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

                        ๓.๔ (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑

สรุปเรื่อง

                        พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖  มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี   ที่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน ที่ได้กำหนดว่า ในแต่ละปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ โดยให้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จำเป็นต้องใช้  และเพื่อให้การปฏิบัติราชการและการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๕๑  ซึ่งมีรอบระยะเวลานับตั้งแต่  ๑   ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐  ถึง  ๓๐   กันยายน   พ.ศ.  ๒๕๕๑  เป็นไปอย่างถูกต้องครบตามกระบวนการ สามารถส่งผลถึงเป้าหมายและผลผลิต ที่มหาวิทยาลัยจะต้องดำเนินการตาม พันธกิจอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ  มหาวิทยาลัยจึงขอเสนอ  (ร่าง)  แผนการปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัย  ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๕๑

                       ปีงบประมาณ  ๒๕๕๑   มหาวิทยาลัย ทำการทบทวนผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ  ๒๕๔๘ – ๒๕๔๙ และวิเคราะห์ถึงภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการและการปฏิบัติราชการ โดย จากการทบทวนผลการดำเนินงานดังกล่าว  มหาวิทยาลัยกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้  ๕  ด้าน เพื่อให้สอดคล้อง กับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๔ ปี (พ.ศ.๒๕๔๘ – พ.ศ.๒๕๕๑) และแผนงบประมาณ พ.ศ.  ๒๕๕๑  จำนวน ๓  แผน ๕ ผลผลิต ประกอบไปด้วย

๑.     แผนงบประมาณ :   เร่งรัดปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  ผลผลิตที่ ๑.     ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   
  ผลผลิตที่ ๒.     ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์
  ผลผลิตที่ ๓.     ผลงานการให้บริการวิชาการ
๒.    แผนงบประมาณ :   อนุรักษ์ สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงาม
  ผลผลิตที่ ๑.     ผลงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๓.     แผนงบประมาณ :   สนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม
  ผลผลิตที่ ๑.     ผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้

              โดยในแผนปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัยจะประกอบด้วยตัวชี้วัดทั้งหมด   ๙๕  ตัวชี้วัด เป็นตัวชี้วัดตามแผนงบประมาณแผ่นดิน   ๒๗  ตัวชี้วัด  และตัวชี้วัดภายในที่สอดคล้องมาตรฐานของ สมศ. และ สกอ. จำนวน ๖๕  ตัวชี้วัด มีตัวชี้วัดที่เป็นจุดเน้นของมหาวิทยาลัยที่สะท้อนอัตลักษณ์และจุดเน้นรวมทั้งวัตถุประสงค์เฉพาะตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.  ๒๕๔๗  จำนวน ๓ ตัวชี้วัด

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

                         ๑.    พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗

ประเด็นเสนอเพื่อพิจารณา

                           ๑.  พิจารณา  และอนุมัติ  (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัย   ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๕๑  ในประเด็น ต่อไปนี้

                                 ๑.   ความเหมาะสมของประเด็นยุทธศาสตร์

                                 ๒.  ความเหมาะสมของตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่บรรจุในแผนปฏิบัติราชการ

                                 ๓.   สอดคล้องของการปฏิบัติราชการ ในเรื่องของ

                                        ๓.๑   สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ

                                        ๓.๒   สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ

                                        ๓.๓   สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

                                        ๓.๔   สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ตามความต้องการของท้องถิ่น อย่าง เหมาะสม กับศักยภาพของมหาวิทยาลัย

                                 ๔.   ความเหมาะสมต่อการกำหนดกลยุทธ์ โครงการ ระยะเวลา และงบประมาณ ที่ส่งผลต่อ การบรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัย  สามารถสร้างผลผลิตได้ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการ

                           ๒.  สุดแต่จะสมควรพิจารณาเป็นประการใด

มติสภามหาวิทยาลัย

                       .........................................................................................................................................................................................